การติดตั้งซีพียู Intel Pentium4



การติดตั้งซีพียู Intel Pentium4
      ซีพียู Pentium4 จะมีความพิเศษกว่าซีพียู Athlon XP เนื่องจากจะต้องมีขั้นตอนติดตั้งฐานรองฮีตซิงค์ก่อนจึงจะติดตั้งซีพียูได้ แต่เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะใส่มาให้แล้ว จึงอาจข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย สำหรับรุ่นนี้จะใช้กับ Socket 478 ซึ่งเป็น Socket แบบล่าสุดของทาง Intel ขั้นตอนในการติดตั้งซีพียูมีดังนี้
               ขั้นตอนการติดตั้งฐานรองฮีตซิงค์
                1. วางฐานรองฮีตซิงค์ลงบนเมนบอร์ด โดยสังเกตให้ช่องของฐานตรงกับช่องบนเมนบอร์ด


               2. กดหมุดสีดำลงในช่องให้ครบทั้ง 4 ช่อง โดยกดหมุดลงไปให้สุด


               3. ใส่หมุดสีขาวลงในช่องของหมุดสีดำอีกที โดยใช้นิ้วกดหมุดลงไปให้สุดเช่นกัน





               ขั้นตอนการติดตั้งซีพียู Pentium 4
               1. ยกขาล็อคซีพียูขึ้น โดยในการยกขาล็อคนี้จะยกขึ้นมาตรงๆ จะยกไม่ขึ้นเพราะจะติด Socket ให้กดลงเล็กน้อยแล้วง้างขาออกด้านข้างจากนั้นก็ยกขึ้น


               2. นำซีพียูมาเสียบลงใน Socket โดยหันซีพียูด้านที่มีรูกลมๆไปไว้มุมเดียวกับขาล็อค


               3. กดก้านล็อคซีพียูลง สังเกตให้ขาล็อคและยึดเข้ากับ Socket


             

  ขั้นตอนการติดตั้งฮีตซิงค์
               1. ทำการวางฮิตซิงค์ลงไปในบล็อกของฐานติดตั้งให้ฐานล่างของฮีตซิงค์สัมผัสกับผิวหน้าของซีพียูพอดี


               2. กดฮีตซิงค์ลงไปบนฐานรอง โดยกดให้เขี้ยวของฮีตซิงค์ล็อคเข้ากับขาของฐานรองทั้งสี่ด้าน


               3. สับคันโยกของฮีตซิงค์ เพื่อยึดตัวฮีตซิงค์เข้ากับซีพียู ให้ระวังทิศทางของคานล็อคด้วย






               4. ติดตั้งฮีตซิงค์เรียบร้อยแล้ว


               5. เสียบสายพัดลมซีพียู เข้ากับขั้วต่อพัดลมบนเมนบอร์ด


ขั้นตอนการติดตั้งแรมแบบ SDRAM
   
ในการติดตั้งก็เพียงแต่ใส่แรมลงใน DIMM Sockets โดยหันด้านที่มีรอยเว้าให้ตรงกับเส้นของ DIMM Sockets แล้วกดลงไปจนขาล็อคดีดขึ้นมาล็อคแผงแรม






   ในที่นี้จะเป็นการต่อสายไฟ และสายสัญญาณจากเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) ของเคสไปยังเมนบอร์ด หลังจากนั้นก็ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคส แต่บางคนอาจต่อสายไฟ และสายสัญญาณภายหลังจากติดตั้งเมนบอร์ด แต่วิธีนี้จะทำให้เสียบสายสัญญาณยาก เนื่องจากคอนเน็กเตอร์อยู่ใกล้กับเคสมากอีกทั้งยังมองหา
ตำแหน่งของขายากอีกด้วย จึงไม่สะดวก
               การต่อสายเพาเวอร์สำหรับเมนบอร์ด
               1. หาตำแหน่งของขั้วต่อสายเพาเวอร์


               2. เสียบหัว AUX 20 Pin โดยหันด้านที่มีหัวล็อคให้ตรงกัน แล้วเสียบลงไปตรงๆ (ถ้าใส่ผิดจะใส่ไม่เข้า)


    รู้จักสายสวิตช์และสัญญาณชนิดต่างๆ
         มาดูกันว่ามีสายสัญญาณอะไรบ้างที่จะต้องต่อเข้ากับ Front Panel Connector บนเมนบอร์ดซึ่งจะมีอยู่ 5 เส้นด้วยกันดังนี้
     POWER SW เป็นสายไฟของสวิทช์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดเครื่อง ซึ่งจะต่อมาจากสวิทช์ ที่อยู่ด้านหน้าเคส

     RESET SW เป็นสายไฟที่ต่อมาจากปุ่ม Reset Switch ที่อยู่ทางด้านหน้าของเคสซึ่งจะเป็นปุ่มที่ใช้บู๊ตเครื่องใหม่ ใช้แทนการกดปุ่มPower เพื่อปิดและเปิดเครื่องใหม่

   POWER LED เป็นคอนเน็กเตอร์ที่จะส่งไฟเลี้ยงไปยังหลอด LED ที่อยู่ทางด้านหน้าของเคส เพื่อแสดงสถานะของเครื่องว่าเปิดหรือปิด ถ้าเครื่องเปิดอยู่หลอด LED ก็จะแสดงไฟสีเขียว แต่ถ้าปิดเครื่องไฟก็จะดับ

     H.D.D LED เป็นสายไฟของหลอด LED ที่ต่อมาจากด้านหน้าของเคส ใช้แสดงสถานะการอ่านหรือเขียนข้อมูลของอุปกรณ์ที่ต่อกับ
คอนเน็กเตอร์ Primary IDE หรือ Secondary IDE ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรว์

    SPEAKER เป็นคอนเน็กเตอร์ที่ต่อไปยังลำโพงของเครื่อง ใช้แสดงเสียง Beep Code เท่านั้น จะใช้เสียงในรูปแบบอื่นๆไม่ได้
   
           ขั้นตอนการต่อสายสัญญาณ

   1. เสียบสาย HDD LED ที่ขา IDELED โดยนำด้านที่มีสายสีแดงเสียบที่ขั้วบวก (หันคอนเน็กเตอร์ด้านที่มีตัวหนังสือ HDD LED เข้าทางด้านในของเมนบอร์ด)


   2. เสียบสาย POWER LED ที่ขา LED โดยนำด้านที่มีสายสีเขียวเสียบที่ +5V (หันคอนเน็กเตอร์ด้านที่มีตัวหนังสือ Power LED เข้าทางด้านในของเมนบอร์ด)


                   3. เสียบสาย POWER SW ที่ขา ATX Power Switch


                  4. เสียบสาย SPEAKER ที่ขา SPEAKER Connector


                    5. เสียบสาย RESET SW ที่ขา RESET SW










 การใส่ฐานรองเมนบอร์ด
    การใส่ฐานรองเมนบอร์ดมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นวงจรเมนบอร์ดสัมผัสกับเคสที่ทำจากโลหะ เพราะจะทำให้เกิดการลัดวงจรได้ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับเมนบอร์ด โดยฐานดังกล่าวจะมีทั้งที่เป็นพลาสติก , อะลูมิเนียม หรือบางรุ่น ก็จะเป็นน็อตสกรู


                                                         รูปแสดงฐานรองเมนบอร์ด และน็อตสกรู

             1. สำรวจตำแหน่งที่จะใส่ฐานรองเมนบอร์ด โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือวางเมนบอร์ดทาบลงไปในเคสแล้วใช้ปากกาเมจิกมาร์คตำแหน่งต่างไว้

            2. ใส่ฐานรองในตำแหน่งที่ทำการมาร์คไว้ จำเป็นต้องใส่ให้ครบทุกจุดที่มาร์คไว้ เพื่อป้องกันเมนบอร์ดสัมผัสกับเคส

           3. เจาะช่องด้านหลังเคส โดยทั่วไปแล้วด้านหลังเคสจะเตรียมช่องไว้มากมาย เตรียมไว้สำหรับใส่พอร์ตของเมนบอร์ดแต่ช่องดังกล่าวจะมีแผ่นอะลูมิเนียมปิดไว้ให้
เลือกเจาะเฉพาะช่องที่ต้องใช้เท่านั้น

            4. ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคส โดยเริ่มจากเสียบพร์อตก่อนเป็นอันดับแรก


           5. สังเกตว่าพอร์ตต่างๆถูกติดตั้งเรียบร้อย


            6. จัดให้รูน็อตบนเมนบอร์ดตรงกับฐานรอง


            7. ขันน็อตยึดเมนบอร์ดให้ครบ และอย่าลืมใส่แผ่นรองน็อตด้วยเพื่อป้องกันเมนบอร์ดเป็นรอย


            8. เสร็จขั้นตอนการติดตั้งเมนบอร์ด


ขั้นตอนการต่อสายไฟให้กับพัดลม
                1. หาหัวต่อของสายไฟของพัดลม โดยมากแล้วจะมีลักษณะคล้ายหัวต่อของสายไฟของฮาร์ดดิสก์แต่จะเป็นปลั๊กสวม


              2. เสียบสาย Power Supply เข้ากับสายพัดลม


             นอกจากนี้ยังมีสายอีก 1 เส้นที่ต้องเชื่อมต่อกันคือ สายที่ต่อระหว่างพัดลมตัวหน้าและตัวหลัง
             3. หาหัวต่อของพัดลม แล้วเสียบสายเข้าด้วยกัน
 ขั้นตอนการติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์
             1. สอดฟล็อปปี้ดิสก์เข้าไปในช่อง ดันตัวไดรว์ให้เข้าไปจนสุด สังเกตให้ช่องขันน็อตสกรูของไดรว์พอดีกับรูน็อตของเคส

               2. ขันน็อตสกรูยึดไดรว์เข้ากับเคส ซึ่งจะมีทั้งหมด 4 ตัว ด้านละ 2 ตัว

              3. เลือกสายสัญญาณฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ สังเกตว่าด้านที่มีสีแดงอยู่ตรงไหน เสียบสายสัญญาณ โดยให้นำด้านที่มีแถบสีแดงหันไปทางด้านที่มีเลข 1 กำกับอยู่
บนบอร์ดของฟล็อปปี้ไดรว์

             4. เสียบสายเพาเวอร์เข้ากับไดรว์ ถ้าหันหัวผิดด้านจะเสียบไม่เข้า

              5. เสียบหัวคอนเน็กเตอร์ของสายสัญญาณเข้ากับคอนเน็กเตอร์ Floppy บนเมนบอร์ด โดยหันด้านที่มีสีสันให้ตรงกับร่อง (หันด้านที่มีแถบสีแดงไปทางด้านที่มีเลข 1 กำกับก็ได้)


ไม่มีความคิดเห็น